The ultimate golf experience

ราชพฤกษ์คลับภูมิใจเสนอสนามกอล์ฟสุดยิ่งใหญ่ระดับชั้นนำของโลก ขนาดมาตรฐาน 18 หลุม ขอเชิญสัมผัสกับหนึ่งในสนามกอล์ฟที่พิเศษเหนือระดับที่สุดแห่งหนึ่งใน ภูมิภาคเอเชีย ยกระดับประสบการเกมกอล์ฟของคุณไปสู่อีกขั้นเที่ยบเท่านักกอล์ฟชั้นนำระดับ โลกได้ที่นี่

R & A Quick Guides

เนื่องด้วยกอล์ฟเป็นเกมกีฬาที่สามารถวางกฎกติกาได้เอง ดังนั้นผู้เล่นทุกคนจึงควรเข้าใจกฎกติกาพื้นฐานของเกมกอล์ฟให้ดี ซึ่งเราได้รวบรวมกฎกติกาที่สำคัญๆ ไว้ ณ ที่นี้

กฏกติกาทั่วไป
 

Before commencing your round:

  • อ่านกฏกติกาของทางสนามเกี่ยวกับเรื่องสกอร์การ์ด หรือป้ายคะแนน
  • ใส่เครื่องหมายประจำตัวบนลูกกอล์ฟของคุณ นักกอล์ฟหลายคนใช้ลูกกอล์ฟยี่ห้อเดียวกัน หรือรุ่นเดียวกัน และถ้าผู้เล่นจำลูกบอลของตัวเองไม่ได้ จะถือว่าลูกหาย (กฏข้อ 12-2 และ 27-1)
  • นับจำนวนไม้กอล์ฟของคุณ ซึ่งอนุญาติให้มีได้ไม่เกิน 14 ไม้ (กฏข้อ 4-4)


 

During the round:

  • ห้ามขอ คำปรึกษาจากใครๆ ก็ตามยกเว้นพาร์ทเนอร์ของผู้เล่น หรือแคดดี้ของผู้เล่นเอง และห้ามให้คำปรึกษาแก่ใครๆ ก็ตามยกเว้นพาร์ทเนอร์ของผู้เล่นเอง ผู้เล่นทำได้เพียงสอบถามข้อมูลเรื่องกฏกตากา ระยะทางหรือตำแหน่งของสิ่งกีดขวางและคันธง เป็นต้น (กฏข้อ 8-1)
  • ห้ามฝึกซ้อมตีลูกในขณะเกมกำลังดำเนินอยู่
  • ในการเล่นแบบแมทช์เพลย์ ต้องแน่ใจว่าผลการแข่งขันได้ถูกบันทึกแล้ว
  • ในการเล่นแบบสโตรคเพลย์นั้น ให้ตรวจสอบสกอร์การ์ดของคุณว่าลงคะแนนถูกต้องหรือไม่ แล้วส่งคืนโดยเร็วที่สุด (กฏข้อ 6-6)



กฏกติกาการเล่น
 

Tee Shot (Rule 11)



การเล่นกอล์ฟเริ่มต้นการตีครั้งแรกหรือ Tee shot ให้ตีในบริเวณ Tee-marker ซึ่งผู้เล่นสามาเริ่มเล่น Tee shot ได้ในระยะสองช่วงไม้กอล์ฟหลังแนวเส้น Tee-marker

ถ้าผู้เล่นเล่น Tee shot นอกพื้นที่บริเวณดังกล่าวข้างต้นนั้น ผู้เล่นจะไม่ถูกทำโทษในกรณีที่เล่นแบบแมทช์เพลย์ แต่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสามารถร้องขอให้คุณตีใหม่ใด้ ส่วนการเล่นแบบสโตรคเพลย์นั้น ผู้เล่นจะถูกทำโทษจำนวน 2 สโตรคและต้องเริ่มเล่นใหม่ภายในพื้นที่ที่กำหนดด้วย
 

Playing the Ball (Rules 12, 13, 14 and 15)


ถ้าผู้เล่นไม่พบเครื่องหมายมาร์คที่ทำไว้บนลูกกอล์ฟของตนเอง แต่ผู้เล่นมั่นใจว่าลูกกอล์ฟนั้นเป็นของตน ผู้เล่นสามารถหยิบลูกกอล์ฟดังกล่าวขึ้นมาทำเครื่องหมายมาร์คใด้แต่ต้องได้ รับความยินยอมจากผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเสียก่อน (กฏข้อ 12-2)

ไม่อนุญาตให้ปรับปรุงตำแหน่งหรือสภาพพื้นที่ที่ลูกของตนอยู่ พื้นที่ที่ตั้งใจเข้าไปยืน หรือพื้นที่สวิงของตน เส้นทางเล่นของตน หรือเส้นทางต่อเนื่องเลยหลุมไปพอควร พื้นที่ที่ผู้เล่นจะทำการดรอป หรือการวางลูกด้วยการกระทำใดๆ ดังต่อไปนี้ เคลื่อนที่ งอ หรือหักสิ่งใดที่งอกหรือติดตรึงอยู่สร้างหรือขจัดพื้นผิวที่ไม่ราบเรียบ เคลื่อนย้ายหรือกดทราย เศษดิน ก้อนหญ้าหรือแผ่นหญ้าที่ตัดมาปะ ยกเว้นสิ่งต่อไปนี้ตามที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้าไปทำการยืนตามปกติในการตี หรือการเคลื่อนไม้กอล์ฟ (กฏข้อ 13-2)

ถ้าลูกกอล์ฟของผู้เล่นอยู่ในบังเกอร์ หรือในอุปสรรคน้ำ ผู้เล่นต้องไม่สัมผัสพื้นที่ในอุปสรรค หรือสัมผัสน้ำในอุปสรรคน้ำ ด้วยมือหรือไม้กอล์ฟหรือสิ่งอื่นๆ (กฏข้อ 13-4)

ผู้เล่นจะต้องตีลูกอย่างถูกวิธีด้วยหัวของไม้กอล์ฟ และต้องไม่ดัน ไม่ครูด หรือไม่ช้อนลูก (กฏข้อ 14-1) ในกรณีที่คุณเล่นผิดลูก ถ้าเป้นการเล่นแบบแมทช์เพลย์ คุณจะถูกปรัปแพ้ไปในหลุมนั้น แต่ถ้าเป็นการเล่นแบบสโตรคเพลย์ ผู้เล่นจะถูกปรับโทษสองแต้ม และต้องแก้ไขความผิดพลาดด้วยการเล่นลูกที่ถูกต้อง (กฏข้อ 15-3)
 

On the Putting Green (Rules 16 and 17)


ผู้เล่นอาจจะหยิบลูกที่อยู่บนกรีน และทำความสะอาดลูกได้ถ้าต้องการ และจะต้องนำลูกที่หยิบขึ้นมานั้นกลับไปวางไว้ตรงจุดเดิมที่ได้หยิบลูกขึ้นมา (กฏข้อ 16-1b)

ผู้เล่นอาจซ่อมรอยหลุมเก่า หรือซ่อมความเสียหายบนกรีนที่เกิดจากการกระทบของลูก ไม่ว่าลูกของผู้เล่นอยู่บนกรีนหรือไม่ก็ตาม ถ้าลูกหรือที่มาร์คลูกเคลื่อนที่โดยบังเอิญเนื่องจากการซ่อมดังกล่าว จะต้องนำลูกนั้น หรือนำที่มาร์คลูกกลับมาวางไว้ที่เดิมโดยไม่มีการปรับโทษ สำหรับความเสียหายอื่นบนกรีนจะต้องไม่ได้รับการซ่อมถ้าอาจจะเป็นการช่วย เหลือการเล่นต่อไปของผู้เล่นในหลุมนั้น (กฏข้อ 16-1c)

ผู้เล่นอาจขอให้เฝ้าคันธง ให้หยิบคันธงออก หรือให้ยกคันธงไว้เพื่อชี้ตำแหน่งหลุมทั้งก่อนและระหว่างการตี ทั้งนี้อาจจะกระทำได้โดยผู้เล่นมอบหมายก่อนตีลูก ก่อนการตีลูก ถ้ามีการเฝ้าคันธง มีการหยิบคันธงออก หรือมีการยกคันธงไว้โดยผู้หนึ่งผู้ใดโดยที่ผู้เล่นรับทราบ และไม่ได้โต้แย้งแล้ว ให้ถือว่าผู้เล่นอนุญาตให้ทำ ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดที่เฝ้าคันธง หรือยกคันธงไว้ หรือยืนอยู่ใกล้หลุมขณะมีการตีลูก จะต้องถือว่าผู้นั้นเฝ้าคันธงจนกระทั่งลูกหยุดนิ่ง (กฏข้อ 17)
 

Ball at Rest Moved (Rule 18)


โดยทั่วไปเมื่อลูกของผู้เล่นเป็นลูกที่อยู่ในระหว่างการเล่น ถ้าผู้เล่น พาร์ทเน่อร์ หรือแคดดี้ของคนใดคนหนึ่ง ไปหยิบ หรือไปทำให้ลูกเคลื่อนที่ หรือเจตนาสัมผัสลูก (ยกเว้นสัมผัสด้วยไม้เพื่อทำการจรดลูก) หรือเจตนาทำให้ลูกเคลื่อนที่ ผู้เล่นจะต้องถูกปรับโทษหนึ่งแต้ม ยกเว้นกรณีที่กฎข้อบังคับอนุญาต โปรดดูกฏข้อ 18-2a (กฏข้อ 18-2)

ถ้าผู้เล่นคนอื่นทำให้ลูกของคุณเคลื่อนที่ไปจากเดิม คุณสามารถนำลูกมาวางที่ตำแหน่งเดิมได้โดยไม่ถูกปรับโทษ
 

Ball in Motion Deflected or Stopped (Rule 19)


ถ้าลูกของผู้เข้าแข่งขันถูกทำให้เฉไป หรือหยุดโดยตัวผู้เล่นเอง หรือพาร์ทเน่อร์ หรือแคดดี้ หรืออุปกรณ์ของคนใดคนหนึ่งโดยบังเอิญ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องถูกปรับแต้ม และจะต้องเล่นลูกตามสภาพที่ลูกหยุดอยู่ (กฏข้อ 19-2)

ถ้าลูกของผู้เล่นที่ตีไป ถูกทำให้เฉไปหรือหยุดลงโดยอีกลูกหนึ่งที่อยู่ในการเล่นและหยุดนิ่งอยู่ ผู้เล่นจะต้องเล่นลูกของตนตามสภาพที่ลูกหยุดอยู่ และไม่มีการปรับโทษแต่อย่างใด ยกเว้นในส่วนของการเล่นแบบสโตรคเพลย์ ก็ไม่มีการปรับโทษแต่อย่างใด นอกจากว่าถ้าทั้งสองลูกอยู่บนกรีนก่อนตี(พัต) ในกรณีนี้ผู้เล่นจะถูกปรับโทษสองแต้ม (กฏข้อ 19-5a)
 

Lifting, Dropping and Placing the Ball (Rule 20)


ก่อนหยิบลูกควรจะมาร์คตำแหน่งลูกที่จะหยิบขึ้นด้วยที่มาร์คลูก ด้วยเหรียญเล็กๆ หรือด้วยสิ่งอื่นที่คล้ายกันให้ชิดกับด้านหลังลูก (กฏข้อ 20-1)

เมื่อลูกถูกหยิบขึ้นมาเพื่อดร็อปหรือวางในตำแหน่งใหม่ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมาร์คตำแหน่งลูก แม้ว่าจะมีข้อกำหนดระบุไว้ก็ตาม

การดร็อปลูกผู้เล่นจะต้องยืนตรง ถือลูกไว้ เหยียดแขนออกไประดับไหล่ แล้วจึงดร็อปลูก

การดร็อปลูกต้องทำใหม่ถ้าลูกกลิ้งและเข้าไปหยุดอยู่ในตำแหน่งที่มีการติดขัด จากสภาพที่ได้รับการผ่อนปรน (เช่น สิ่งกีดขวางที่เคลื่อนย้ายไม่ได้) และถ้าลูกกลิ้งออกไปและหยุดไกลกว่าสองช่วงไม้กอล์ฟ หรือกลิ้งและเข้าไปหยุดอยู่ใกล้หลุมกว่าตำแหน่งเดิมที่ลูกอยู่ หรือกลิ้งเข้าไปใกล้กว่าจุดผ่อนปรนที่ใกล้ที่สุด หรือจุดสุดท้ายที่ลูกเดิมข้ามขอบของอุปสรรคน้ำ จะต้องวางลูกให้ใกล้ที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ณ จุดที่ลูกกระทบพื้นสนามเมื่อทำการดรอปใหม่

มีอยู่ 9 สภาวะด้วยกันที่ผู้เล่นต้องทำการดร็อปลูกใหม่อีกครั้ง ซึ่งดูรายละเอียดได้ในกฏข้อที่ 20-2c

ถ้าหากการดร็อปลูกครั้งที่สองนี้ ลูกกลิ้งไปยังบริเวณต่างๆ ที่ระบุไว้ตามกฏข้อที่ 20-2c ให้วางลูกให้ใกล้ที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ณ จุดที่ลูกกระทบพื้นสนามเมื่อทำการดรอปใหม่
 

Ball Assisting or Interfering with Play (Rule 22)


ผู้เล่นสามารถหยิบลูกขึ้นมาได้ถ้าผู้เล่นคิดว่าลูกของตนนั้นอาจเป็นประโยชน์กับผู้เล่นคนอื่น

ผู้เล่นต้องไม่ยอมทิ้งลูกของตัวเองในตำแหน่งที่จะเป็นการเอื้อประโยชน์แก่ผู้เล่นคนอื่นๆ

ผู้เล่นสามารถหยิบลูกขึ้นจากสนามได้ถ้าลูกอยู่ในตำแหน่งกีดขวางผู้เล่นคน อื่น ในกรณีนี้ ลูกที่ถูกหยิบขึ้นมานั้นต้องไม่ถูกทำความสะอาด เว้นเสียแต่ว่าลูกดังกล่าวถูกหยิบขึ้นมาจากกรีนพัท
 

Loose Impediments (Rule 23)


ผู้เล่นอาจจะเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางได้ (เช่น ก้อนหิน ใบไม้ และกิ่งไม้) เว้นเสียแต่ว่าสิ่งกีดขวางและลูกอยู่ในอุปสรรค์เดียวกัน ถ้าผู้เล่นเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางแล้วเป็นเหตุให้ลูกเคลื่อนที่ ผู้เล่นจะถูกปรับโทษหนึ่งแต้ม (กฏข้อ 23-1)
 

Movable Obstructions (Rule 24-1)


สิ่งกีดขวางที่เคลื่อนย้ายได้ (เช่น คราด กระป๋องน้ำอัดลม) ที่ตั้งอยู่ที่ใดก็ตามสามารถเคลื่อนย้ายออกได้โดยไม่ถูกปรัปโทษ

ถ้าลูกอยู่บนสิ่งกีดขวางที่เคลื่อนย้ายได้ สามารถหยิบลูกขึ้นมาได้ แล้วย้ายสิ่งกีดขวางดังกล่าวออกแล้วจึงดร็อปลูกลง ณ ตำแหน่งนั้น โดยไม่ถูกปรัปโทษ ยกเว้นในกรณีที่ลูกอยู่บนกรีนพัท ลูกจะต้องอยู่ ณ ตำแหน่งเดิม";
 

Immovable Obstructions and Abnormal Ground Conditions (Rules 24-2 and 25-1)


ตัวอย่างที่เป็นสิ่งกีดขวางที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ เช่น ตึก หรือ พื้นผิวถนน (กรุณาตรวจสอบกฏเฉพาะของแต่ละสนามเกี่ยวกับสถานะของถนนและเส้นทาง)

ส่วนสภาพพื้นที่ผิดปกติก็อย่างเช่น พื้นที่น้ำขัง พื้นที่ซ่อมบำรุง หลุม ร่องรอยที่สัตว์ต่างๆ ทิ้งเอาไว้

กรณีเมื่อลูกตกอยู่ในอุปสรรคน้ำ จะได้รับการผ่อนปรนเช่นเดียวกันกับกรณีเมื่อสิ่งกีดขวางที่เคลื่อนย้ายไม่ ได้และสภาพพื้นที่ผิดปกติ ขัดขวางการยืน หรือวงสวิงของผู้เล่น ผู้เล่นสามารถหยิบลูกขึ้นมาและดร็อปลูกใด้ในระยะไม่เกินความยาวหนึ่งช่วงไม้ กอล์ฟของจุดผ่อนปรนที่ใกล้ที่สุด (โปรดดูคำนิยามของ "จุดผ่อนปรนที่ใกล้ที่สุด" เพิ่มเติม) และต้องไม่ใกล้กับหลุมเกินกว่าจุดผ่อนปรนที่ใกล้ที่สุด (ดูภาพประกอบด้นล่าง)

ถ้าลูกอยู่บนกรีน ณ ตำแหน่งจุดผ่อนปรนที่ใกล้ที่สุด จะไม่มีการผ่อนปรนเพื่อแทรกแซงแนวการเล่นของผู้เล่น เว้นเสียแต่ว่าลูกของผู้เล่นและปัจจัยแวดล้อมอยู่บนกรีน

เมื่อลูกตกอยู่ในบังเกอร์ ผู้เล่นอาจขอรับการผ่อนปรนจากการติดขัดโดยสิ่งกีดขวางที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ แต่จะถูกปรับโทษเป็นจำนวนหนึ่งสโตรค ภาพประกอบด้านล่างนี้อธิบายถึง "จุดผ่อนปรนที่ใกล้ที่สุด" ตามกฏข้อ 24-2 และ 25-1 สำหรับกรณีที่ผู้เล่นถนัดมือขวา


B1 = ตำแหน่งลูกบนถนน, บนพื้นที่ซ่อมแซม (Ground Under Repair) และอื่นๆ
P1 = จุดผ่อนปรนที่ใกล้ที่สุด
P1-A-A = พื้นที่ร่มที่เป็นจุดดร็อปลูก รัศมีหนึ่งช่วงความยาวไม้กอล์ฟจากจุด P1 วัดด้วยไม้กอล์ฟขนาดใดๆ ก็ตาม
B2 = ตำแหน่งลูกบนถนน บนพื้นที่ซ่อมแซม (Ground Under Repair) และอื่นๆ = พื้นที่การยืนโดยประมาณเพื่อตีลูก ณ จุด P2
P2 = จุดผ่อนปรนที่ใกล้ที่สุด
P2-C-C = พื้นที่ร่มที่เป็นจุดดร็อปลูก รัศมีหนึ่งช่วงความยาวไม้กอล์ฟจากจุด P2 วัดด้วยไม้กอล์ฟขนาดใดๆ ก็ตาม
 

Water Hazards (Rule 26)


ถ้าลูกของผู้เล่นตกอยู่ในอุปสรรค์น้ำ คุณอาจเล่นโดยตีลูกจากตำแหน่งนั้น หรือเลือกที่จะถูกปรับโทษจำนวนหนึ่งสโตรค:

  • โดยตีลูกจากตำแหน่งเดิมที่คุณตีลูกลงไปตกในอุปสรรค์น้ำ หรือ
  • ดร็อปลูกที่ระยะใดๆ ก็ได้หลังอุปสรรค์น้ำ โดยให้เป็นแนวเส้นตรงระหว่างหลุม จุดที่ลูกข้ามขอบของอุปสรรค์น้ำ และจุดที่ลูกถูกดร็อป



ถ้าลูกอยู่ข้างอุปสรรค์น้ำ นอกจากทางเลือกสำหรับการเล่นลูกในอุปสรรค์น้ำ (ตามรายละเอียดด้านบน) ถูกปรัปโทษหนึ่งสโตรคแล้ว ผู้เล่นอาจเลือกที่จะดร็อปลูกในระยะสองช่วงความยาวไม้กอล์ฟ และต้องไม่ใกล้หลุมเกินกว่า:

  • จุดที่ลูกข้ามขอบของอุปสรรค์เป็นครั้งสุดท้าย หรือ
  • จุดที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของอุปสรรค์ซึ่งมีระยะเท่ากันกับหลุมจากจุดที่ลูกข้ามขอบของอุปสรรค์เป็นครั้งสุดท้าย


 

Ball Lost or Out of Bounds; Provisional Ball (Rule 27)


ตรวจสอบกฏของแต่ละสนามสำหรับเรื่องขอบเขตของสนาม

ถ้าลูกของผู้เล่นหายไปนอกเขตอุปสรรค์น้ำ หรือออกนอกเขตสนาม ผู้เล่นต้องเล่นลูกใหม่จากตำแหน่งล่าสุดที่ตีลูก โดยจะถูกปรัปโทษหนึ่งสโตรค

ผู้เล่นมีเวลา 5 นาทีในการค้นหาลูก ถ้าหมดเวลาแล้วยังไม่พบ ให้ถือว่าลูกหาย

ถ้าหลังจากตีอลูกไปแล้ว ผู้เล่นคิดว่าลูกของตนอาจตกและหายนอกเขตอุปสรรค์น้ำ หรือออกนอกเขตสนาม ผู้เล่นสามารถขอเล่นลูกสำรองได้ (Provisional Ball) แต่ผู้เล่นต้องประกาศให้ชัดเจนว่าเป็นลูกสำรอง ก่อนที่จะไปค้นหาลูกที่คิดว่าหายไป

ถ้าเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าลูกหลักหายหรือออกนอกเขตสนาม ผู้เล่นต้องเล่นลูกสำรองต่อไปโดยจะถูกปรัปแต้มหนึ่งสโตรค แต่ถ้าปรากฏว่าเจอลูกหลักตกอยู่ในเขตสนาม ผู้เล่นต้องกลับมาเล่นลูกหลักนี้ และต้องหยุดเล่นลูกสำรองทันที
 

Ball Unplayable (Rule 28)


ถ้าลูกของผู้เล่นตกอยู่ในอุปสรรค์น้ำ กฏที่ไม่สามารถเล่นลูกได้ไม่สามารถนำมาใช้ได้ ผู้เล่นจะต้องเล่นภายใต้กฏอุปสรรค์น้ำ โดยในพื้นที่ใดๆ ก็ตามบนสนาม ถ้าผู้เล่นคิดว่าไม่สามารถเล่นที่จะลูกได้ ผู้เล่นอาจยอมโดนปรับโทษหนึ่งสโตรค:

  • โดยกลับไปเล่นที่ตำแหน่งล่าสุดที่ตีลูก หรือ
  • ดร็อปลูกที่ระยะใดๆ ก็ตาม หลังจุดที่ลูกตกโดยให้เป็นแนวเส้นตรงระหว่างหลุมกับจุดที่ลูกตก และจุดที่ดร็อปลูก หรือ
  • ดร็อปลูกภายในระยะสองช่วงความยาวไม้กอล์ฟ ณ จุดที่ลูกอยู่ไม่ใกล้หลุม



ถ้าลูกของคุณตกอยู่ในบังเกอร์ ผู้เล่นสามารถใช้กฏตามที่ระบุข้างต้นได้ ยกเว้นในกรณีที่ผู้เล่นดร็อปหลังแนวหรือภายในระยะสองช่วงความยาวไม้กอล์ฟ ผู้เล่นต้องดร็อปลูกในบังเกอร์
 

Etiquette


ขอแนะนำให้ผู้เล่นอ่านหมวดมารยาทนักกอล์ฟ (Etiquette Section) ซึ่งจะเป็นแนวทางพื้นฐานในการเล่นอย่างปลอดภัย ด้วยบรรยากาศที่ดี เมื่อทุกๆ คนช่วยกันดูแลเอาใจใส่สนามของเรา